วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้ตรุษจีน ปี2553 ทุกราศีควรไปไหว้ เทพเจ้าเสริมดวงชะตา ดังนี้ปีชวด(หนู)ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ซำกวง” หรือ “เทพ 3 ตา” วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กรุงเทพปีฉลู(วัว)ให้ไปไหว้ขอพร “เทพหั่วท้อ” หรือ “หมออูโต๋ว” (หมดเทวดา) ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.ปีขาล(เสือ)ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)ปีเถาะ(กระต่าย)ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเจ้าไท้เอี๊ยง” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่มังกรกมลาวาส หรือ วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.ปีมะโรง(งูใหญ่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเทียงเต็ก” ไหว้ฟ้าดิน หรือไหว้ที่เสาทีกงได้ทุกศาลเจ้าปีมะเส็ง(งูเล็ก)ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)“องค์ไท้อิม” ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.ปีมะเมีย(ม้า)ให้ไปไหว้ขอพร “องค์เจี้ยงแซ” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราชหรือที่ไหนก็ได้ที่มีปีมะแม(แพะ) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพห่วยเต็ก” ไหว้ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ มูลนิธิเทียนฟ้า เยาวราช หรือทุกศาลเจ้าที่มีปีวอก(ลิง) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)ปีระกา(ไก่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเหล่งเต็ก” ไหว้ “องค์แป๊ะกง” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีแป๊ะกงปีจอ(หมา) ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ตั่วเหล่าเอี๊ย” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อเสือปีกุน(หมู) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)"องค์กวนอู” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราช หรือ ที่ไหนก็ได้ที่มีถ้า ไม่สามารถไปไหว้เทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามที่แนะนำตามศาลเจ้าที่บอกได้ให้ดูตาม ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่มีเทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามปีเกิดของคุณแล้วขอพรจากองค์เทพนั้นโดยตรง โดยอธิฐานดังนี้ข้าพเจ้า ขอกราบบูชาและต้อนรับ”.....(ชื่อเทพเจ้าที่เสริมดวงชะตาปี2553 ประจำปีเกิดของคุณ)” ซึ่งมาสถิตในเรือนชะตาของ ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)ด้วยความศรัทธายิ่งขอได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรค แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งประทานความสำเร็จ ความสุขความเจริญ มีสิริมงคล สุขภาพแข็งแรง และโชคดีตลอดปี2553 แก่ข้าพเจ้า เทอญ...สาธุตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทยชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยววันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ววันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือตอนเช้ามืดจะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้วตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคลวันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้นสัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอวในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆอีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกันที่มา http://images.google.com/imgres?imgurl=http://www.lifepitlok.com/images_news/1263171994.jpg&imgrefurl=http://www.lifepitlok.com/&usg=__v00JW7HbMY26yWHUBo8_vLNbwHc=&h=300&w=450&sz=76&hl=th&start=2&sig2=955APENtaT-PZlKDNGThrw&um=1&itbs=1&tbnid=-7KlA1OqtfS57M:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%2B2553%26hl%3Dth%26rls%3Dcom.microsoft:en-US%26sa%3DN%26um%3D1&ei=0HZ1S4jwNYPBrAeaseW8Cg
เขียนโดย เด็กหญิงธนธรณ์ ยงญาติ0 ความคิดเห็น
ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจาย(Scattered) ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนทั่วไป(Widespread) ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร หมายถึงข้อใดก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไปก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตรก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตรก.ฝนหนัก(Heavy Rain) ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณนับไม่ได้ก.ไม่มีฝนตก ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)
เขียนโดย เด็กหญิงธนธรณ์ ยงญาติ0 ความคิดเห็น
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมโลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อนสมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุวัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดีใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดีใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุวัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
เมฆ
เมฆเมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ชนิดของเมฆเมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ
2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก
3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน
นอกจากนี้ยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ เมฆชนิดนี้ ได้แก่ เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส1. เมฆคิวมูลัส เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆ พร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งจัดเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่ง2. เมฆคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้ายขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง
พระธาตุดอยเวาแม่สาย
วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง
พระธาตุผาเงาวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้ชื่อมาจากพระธาตุผาเงาที่อยู่ในบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า "ผาเงา" ก็คือ เงาของก้อนผาหรือก้อนหินที่มีลักษณะเป็นรูปสูงใหญ่คล้ายรูปทรงพระเจดีย์และให้ร่วมเงาที่ดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระธาตุผาเงา" พระธาตุองค์นี้เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๙๔ - ๕๑๒ โดย ขุนผาพัง เข้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุผาเงา นอกจากพระธาตุผาเงาแล้วยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด พระเจดีย์จอมจัน พระวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา พระธาตุพุทธนิมิต และซุ้มประตูพระธาตุผาเงาที่มีลวดลายลักษณะสวยงามมาก เป็นสถานปฏิบัติธรรมบนเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๐๕ วิหารใหม่สร้างขึ้นบริเวณที่ขุดพบพระประธาน (หลวงพ่อเงา) บนยอดเขาประดิษฐาน พระบรมธาตุนิมิตรเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมวิว ทิวทัศน์บริเวณเมืองเชียงแสน แม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
โดย อ.ยุภาภรณ์ เสาโกมุท (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการผสมเทียม (Artificial Insemination)
- ความรู้ เรื่องการกำเนิดดิน- ความรู้ เรื่องพฤติกรรม (Behavior)
- ความรู้ เรื่องระบบการย่อยอาหาร (Digestive System)- ความรู้ เรื่องอาหาร (Food)
- ความรู้ เรื่อง ความเป็นกรด
-เบสของดิน- ความรู้ เรื่อง ดาว
- ความรู้ เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว
- ความรู้ เรื่อง ระบบขับถ่าย
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเลือด
- ความรู้ เรื่อง แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นโดย อ.นฤมล สินธุรัตน์ (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องสารและสมบัติของสาร
- ความรู้ เรื่องสถานะของสาร
- ความรู้ เรื่องมวลอะตอมและมวลโมเลกุล
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีจลน์ของก๊าซ- ความรู้ เรื่องการแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง พันธะเคมี
- ความรู้ เรื่อง การกลั่น
- ความรู้ เรื่อง ธาตุและสารประกอบ
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของคอลลอยด์
- ความรู้ เรื่อง สัญลักษณ์และการเรียกชื่อธาตุโดย อ.ทรงเดช ทองคำ (26/01/47)แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)อาหารโลกและการเปลี่ยนแปลงดิน หิน แร่แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)พันธะเคมี ( เวปอื่น )โครงสร้างอะตอมตารางธาตุโดย อ.รัตนา ชุปวา (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่องความกดอากาศ- ความรู้ เรื่องชั้นบรรยากาศแบ่งตามสมบัติอุตุนิยมวิทยา
- ความรู้ เรื่องเมฆ
- ความรู้ เรื่องโอโซนและสาร ซี เอฟ ซี- ความรู้ เรื่องสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่อง กรด
- เบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเซลล์โดย อ.รจนา ใจห้าว (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องระบบโครงกระดูก
- ความรู้ เรื่องการหมุนเวียนของเลือดและก๊าซ
- ความรู้ เรื่องระบบหายใจ
- ความรู้ เรื่องระบบสืบพันธ์
- ความรู้ เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
- ความรู้ เรื่อง กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 2โดย อ.สุพัฒรา ดาวหน (27/01/47)- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่น
- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่นผิวน้ำผ่านช่องเปิดคู่
- ความรู้ เรื่องการหักเหของคลื่น- ความรู้ เรื่องคลื่นคืออะไร
- ความรู้ เรื่องส่วนประกอบของคลื่น
- ความรู้ เรื่อง สมดุลกล- ความรู้ เรื่อง งาน
- ความรู้ เรื่อง พลังงาน- ความรู้ เรื่อง อุปกรณ์ในวงไฟฟ้าโดย อ.จงกล บัวสิงห์ (19/01/47)
- ความรู้เรื่อง แรง
- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อหนึ่งของนิวตันหรือกฎความเฉื่อย
- ความรู้ เรื่องมวล- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
- ความรู้ เรื่องสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
- ความรู้ เรื่องกระแสไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่องคุณสมบัติของแท่งแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องสนามแม่เหล็กโลก
- ความรู้ เรื่องเส้นแรงแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
- ความรู้ เรื่อง การเลี้ยวเบน
- ความรู้ เรื่อง การสะท้อน
- ความรู้ เรื่อง การหักเห
- ความรู้ เรื่อง บีตส์
- ความรู้ เรื่อง คลื่นนิ่ง
- ความรู้ เรื่อง ความถี่ธรรมชาติ
- ความรู้ เรื่อง การสั่นพ้อโดย อ.กัญญารัตน์ พรหมคุณ (26/01/47)- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยาเคมีในเซลล์- ความรู้ เรื่องเมแทบอลิซึม
- ความรู้ เรื่องการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่องการสลายอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่อง ชนิดของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง การทำงานของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
- ความรู้ เรื่อง ตัวยับยั้งเอนไซม์( Inhibitor )
- ความรู้ เรื่อง ประโยชน์ของตัวยับยั้งเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง โครงสร้างและวิธีการแลกเปลี่ยนก๊าซของสิ่งมีชีวิต
- ความรู้ เรื่อง การหายใจของพืชหลังการเก็บเกี่ยว- ความรู้ เรื่อง การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 และพืช C4
- ความรู้ เรื่อง แหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง
ความรู้ เรื่อง การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช
- ความรู้ เรื่อง ข้อสรุปแตกต่างระหว่างลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่โดย อ.เพชรรัตน์ วงศ์ชา (20/01/47)-
ความรู้ เรื่องการผลิตเกลือจากน้ำทะเล- ความรู้ เรื่องเครื่องปั้นดินเผา
- ความรู้ เรื่องแร่รัตนชาติ
- ความรู้ เรื่องแร่เชื้อเพลิง
- ความรู้ เรื่องประเภทของอุตสาหกรรม
- ความรู้ เรื่อง สารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง การแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง โครมาโทกราฟฟี
- ความรู้ เรื่อง ธาตุกัมมันตรังสีโดย อ.ปาริชาด บัวแย้ม (25/01/47)- ความรู้ เรื่องความหมายฟิสิกส์อะตอม
- ความรู้ เรื่องโครงสร้างสาร
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบรังสีคาโธด
- ความรู้ เรื่องการทดลองหาค่าประจุต่อมวลของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของบอร์
- ความรู้ เรื่องสเปกตรัมของอะตอม
- ความรู้ เรื่องอนุกรมเส้นสเปกตรัม
- ความรู้ เรื่องรัศมีวงโคจร ความเร็วและพลังงานของอิเล็กตรอนตามแบบของบอร์
- ความรู้ เรื่องการทดลองของแฟรงค์และเฮริต์
- ความรู้ เรื่องรังสีเอกซ์- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 1
- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 2
- ความรู้ เรื่องทวิภาคของคลื่นและอนุภาคของเดอ บรอยล์
- ความรู้ เรื่องหลักความไม่แน่นอนและโอกาสเป็นไปได้ของไฮเซนเบริก
- ความรู้ เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม
- ความรู้ เรื่องการเขียนปฏิกิริยานิวเคลียร์- ความรู้ เรื่องการค้นพบนิวตรอน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบโปรตอน
- ความรู้ เรื่องการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
- ความรู้ เรื่องความหมาย ฟิสิกส์นิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องชนิดของกัมมันตภาพรังสี- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องประวัติการค้นพบกัมมันตภาพรังสี- ความรู้ เรื่องรัศมีนิวเคลียส
- ความรู้ เรื่องลูกระเบิดปรมาณูลูกที่สอง- ความรู้ เรื่องเวลาครึ่งชีวิตโดย อ.สมรักษ์ สีหาภาค- ความรู้ เรื่อง สมบัติของเหล็ก- ความรู้ เรื่อง สมบัติของทองแดง- ความรู้ เรื่อง สมบัติของสังกะสี- ความรู้ เรื่อง สมบัติของแคลเซียม- ความรู้ เรื่อง สมบัติของโครเมียม- ความรู้ เรื่อง วิตามิน- ความรู้ เรื่อง โปรตีน- ความรู้ เรื่อง น้ำ- ความรู้ เรื่อง คาร์โบไฮเดรด- ความรู้ เรื่อง ไขมันโดย อ.ศักดดนัย สืบเสน- ความรู้ เรื่อง การถ่ายทอดพันธุกรรม- ความรู้ เรื่อง สิ่งกำหนดเพศในมนุษย์- ความรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์- ความรู้ เรื่อง การโคลนยีน (GENE CLONING)- ความรู้ เรื่อง ประวัติของเมนเดลโดย อ.เดช ผิวอ่อน- ความรู้ เรื่อง กำลังไฟฟ้า- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน- ความรู้ เรื่อง เต้ารับและเต้าเสียบ- ความรู้ เรื่อง พลังงานไฟฟ้า- ความรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้า- ความรู้ เรื่อง สะพานไฟที่มา http://patchara1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=43827
เขียนโดย เด็กหญิงธนธรณ์ ยงญาติ 0 ความคิดเห็น
เมืองเชลียงปริทรรศน์52
http://www.kruesanbannok.com/doc/Fonts.htm
การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระจะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....1. ตัวอย่างการวิเตราะห์หลักสูตรก่อนเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้3. ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน3.1 ตัวอย่างแผน STAD 3.2 ตัวอย่างแผน CIPPA 3.3 ตัวอย่างแผน Backwards++จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 15. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 26. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 37. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 48. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 59. ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม10.1 การจัดเรียงภาคผนวก 10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวฃาญ11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/112. ตัวอย่างนวัตกรรม12.1 ตัวอย่าง บทเรียนสำเร็จรูป
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์12.3 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ15. การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม.
ลิงก์ไปยังบทความนี้
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูก
ก.แรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุตกสู่พื้นโลกเสมอ
ข.ทุกตำแหน่งบนพื้นโลกมีค่าแรงโน้มถ่วงเท่ากัน
ค.แรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค
2.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก.แรงดึงดูดของโลกมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
ข.มวลของสารไม่ขึ้นกับเนื้อของสาร
ค.น้ำหนักของวัตถุเท่ากับมวลของวัตถุเสมอ
ง.ถูกทุกข้อ
3.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก.ค่าแรงดึงดูดของโลกมีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที2
ข. มวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุ
ค. น้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ
ง. ถูกทุกข้อ
4.ข้อใดเป็นประโยชน์ของแรงโน้มถ่วง
ก.การใช้ปั่นจั่นตอกเสาเข็ม
ข.การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่น
ค.การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ
ง.ถูกทุกข้อ
5.การกระทำข้องมนุษย์ในข้อใดมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก
ก.การสร้างลิฟท์
ข.การสร้างบ้าน
ค.การใช้รถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวก
ง.การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก
เขียนโดย เด็กหญิงธนธรณ์ ยงญาติ ที่ 20:16 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้
ใบความรู้ที่ 35เรื่อง แรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลาน้ำหนักวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกันมวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุน้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุถ เปนมวลของวัตถุm2 เปนมวลของโลกR เปนระยะหางจากจุดศูนยกลางโลกถึงวัตถุF เปนแรงดึงดูดระหวางมวลของโลกและวัตถุจะไดวา F m1F m2F F หรือจะไดวาF = G คือ คาคงตัวความโนมถวงสากล มีคา 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2นํ้ าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณตางกันจะมีคาตางกัน โดยนํ้าหนักของมวล1 กิโลกรัมที่บริเวณเสนศูนยสูตรมีคาประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้าหนักของมวล 1 กิโลกรัมที่บริเวณขั้วโลกมีคาประมาณ 9.83 นิวตันถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกันน้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
ด็กชาย ทัศนัย ใยไม้
เด็กชาย ปฏิธาร พิงชัยภูมิ